คล งข อม ลจดหมายเหต น กมาน ษว ทยา
July 31, 2017 | Author: อาณัติ วอชิงตัน | Category: N/A
Short Description
Download คล งข อม ลจดหมายเหต น กมาน ษว ทยา...
Description
โครงการฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยาในประเทศไทย 54 การจัดเรียงและให้ข้อมูลจดหมายเหตุตามระบบ ISAD(G)
การจัดเรียงและให้ข้อมูลจดหมายเหตุตามระบบ ISAD(G) คลังข้อมูลจดหมายเหตุนักมานุษวิทยา เรียบเรียงโดย ธันวดี สุขประเสริฐ นักวิชาการเอกสารสนเทศ ISAD(G) คืออะไร? ISAD(G) : General International Standard Archival Description คื อ มาตรฐานการจั ด ระบบ และให้ข้อมูลจดหมายเหตุที่ได้รับการยอมรับจากสมาคมจดหมายเหตุสากล (the International Council on Archives (ICA/CIA) โดยมาตรฐานนี้จะระบุว่าการให้ข้อมูลจดหมายเหตุมีองค์ประกอบ (elements) และกฎ (rules) อะไรบ้าง ระบบ ISAD ฉบับแรกถูกใช้ในปี ค.ศ.1993/1994 ซึ่งเป็นฉบับที่พัฒนามาจากร่างในปี ค.ศ.1990 โดย การหารื อ กั น ในกลุ่ ม ย่ อ ยของคณะกรรมการกํ า กั บ มาตรฐานการให้ ข้ อ มู ล อรรถาธิ บ าย (the AdHoc Commission on Descriptive Standards)1 จากนั้ น ในปี ค.ศ.2000 สมาคมจดหมายเหตุ ส ากลได้ ทํา การ ปรับแก้ใหม่เป็นฉบับที่2 และใช้มาจนถึงปัจจุบันคือ ISAD(G) กฏขั้นพื้นฐานของการจัดเรียงและให้ข้อมูลจดหมายเหตุ 1) การสร้างชุดข้อมูลจดหมายเหตุมีความสอดคล้อง เหมาะสม และสามารถให้อรรถาธิบายได้ด้วยตัวเอง 2) อํานวยในการค้นคืนและแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุจดหมายเหตุ 3) สามารถควบคุมเอกสารร่วมกันได้ 4) ทําให้ความเป็นกลุ่ม ก้อนของข้ อมู ลที่ มาจากแหล่งต้นทางต่างกัน สามารถรวมอยู่ในระบบสารสนเทศ เดียวกันได้
1
เป็นกลุ่มที่เริ่มดําเนินงาน ในปี ค.ศ.1988 ได้รับการสนับสนุนโดยองค์การยูเนสโก้ (UNESCO)
โครงการฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยาในประเทศไทย 55 การจัดเรียงและให้ข้อมูลจดหมายเหตุตามระบบ ISAD(G)
การจัดเรียงเอกสารจดหมายเหตุตามระบบ ISAD(G) มาตรฐานการให้ข้อมูลจดหมายเหตุตามระบบ ISAD(G) สัมพันธ์กับการจัดเรียงเอกสาร (archival arrangement) หมายถึง การกําหนดช่วงชั้นของข้อมูลจดหมายเหตุสําหรับการอธิบายเอกสาร การจัดเรียงและให้ข้อมูลจดหมายเหตุจะต้องเริ่มจากข้อมูลทั่วไปจนถึงข้อมูลเฉพาะ หมายความว่า การสร้ า งเนื้ อ หาเพื่ อ อธิ บ ายเอกสารจะเริ่ม จากชุด เอกสารที่เ ป็ น กลุ่ม ใหญ่ที่ สุ ดคื อระดับ collection (ชุ ด เอกสาร) ช่วงชั้นเพิ่มเติมที่ตามมาคือระดับ series (กลุ่ม), sub-series (กลุ่มย่อย), file (แฟ้ม), sub-file (แฟ้ม ย่อย), และ item (ชิ้นเอกสาร) ตามลําดับ2 จากนั้นต้องมีการสร้างเนื้อหาที่เชื่อมโยงกันในแต่ละระดับ ทั้งนี้ ต้องคํานึงว่า การสร้างข้อมูลจดหมาย เหตุในแต่ละระดับนั้นเป็นประโยชน์สําหรับผู้ใช้งานหรือไม่ อย่างน้อยที่สุด จะต้องมีการให้ข้อมูลในระดับแรก คือ ระดับชุดเอกสาร นอกจากนี้ นักจดหมายเหตุสามารถทบทวนและเพิ่มรายละเอียดของข้อมูลจดหมายเหตุ ได้ตลอดเวลา ตามความต้องการของเจ้าของเอกสาร ทรัพยากร และเวลาที่อํานวย รูปแบบการจัดเรียงและกําหนดช่วงชั้นเอกสารจดหมายเหตุแต่ละชุด อาจปรากฎได้หลายรูปแบบ ดังนี้
2
ตามระบบ ISAD(G) จะเรียกช่วงชั้นที่ใหญ่ที่สุดว่า Fonds อย่างไรก็ตาม คลังข้อมูลจดหมายเหตุนักมานุษยวิทยา จะใช้คําว่า collection
โครงการฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยาในประเทศไทย 56 การจัดเรียงและให้ข้อมูลจดหมายเหตุตามระบบ ISAD(G)
การกําหนดช่วงชั้นเอกสารจดหมายเหตุ 1. ระดับ collection (ชุดเอกสาร) ให้ใช้ชื่อเจ้าของเอกสารเป็นตัวจําแนก 2. ระดับ series (กลุ่ม), sub-series (กลุ่มย่อย), file (แฟ้ม), และ sub-file (แฟ้มย่อย) สามารถจําแนกตาม เกณฑ์ต่อไปนี้ ปีที่ทํางานภาคสนาม เช่น 2501, 2511-2528 เป็นต้น พื้นที่ในการทํางานภาคสนาม เช่น ประเทศ ภูมิภาค จังหวัด เมือง เป็นต้น ประเด็นในการศึกษา เช่น พิธีกรรม เกษตรกรรม ระบบเศรษฐกิจ เป็นต้น กลุ่มชาติพันธุ์ เช่น ไทดํา มอญ ไทลื้อ กะเหรี่ยง เป็นต้น ประเภทเอกสาร เช่น เอกสารที่เกิดจากการทํางาน เอกสารราชการ เอกสารส่วนบุคคล เป็นต้น ชนิดของเอกสาร เช่น สไลด์ ภาพถ่าย จดหมาย บัตรบันทึก เป็นต้น เมื่อจัดเรียงเอกสารตามช่วงชั้นดังกล่าวแล้ว ให้สร้างเนื้อหาเพื่ออธิบายข้อมูลจดหมายเหตุแต่ละช่วงชั้น เริ่มตั้งแต่ชั้นใหญ่สุดจนถึงระดับชิ้นเอกสาร ตามองค์ประกอบและกฎของระบบ ISAD(G)
โครงการฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยาในประเทศไทย 57 การจัดเรียงและให้ข้อมูลจดหมายเหตุตามระบบ ISAD(G)
การให้ข้อมูลจดหมายเหตุตามระบบ ISAD(G) แนวคิดสําคัญของการสร้างเนื้อหาอธิบายข้อมูลจดหมายเหตุที่มีหลายช่วงชั้น 1. อธิบายจากข้อมูลทั่วไป ไปสู่ข้อมูลที่มีลักษณะเฉพาะ โดยให้ข้อมูลที่เป็นภาพรวมในช่วงชั้นใหญ่ที่สุด คือ ระดับ collection ส่วนในช่วงชั้นถัดมา ให้ข้อมูลที่ครอบคลุมเฉพาะขอบเขตของชั้นข้อมูลนั้นๆ ท้ายที่สุดการ สร้างเนื้อหาอธิบายข้อมูลจดหมายเหตุลักษณะนี้ จะทําให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์รวมและส่วนย่อยของ เอกสารแต่ละชุด 2. คําอธิบายข้อมูลจดหมายเหตุ ต้องเป็นข้อมูลที่สะท้อนบริบทและเนื้อหาของชั้นข้อมูลได้อย่างถูกต้อง เป็น ข้อมูลที่เหมาะสมในแต่ละระดับ 3. การเชื่อมโยงคําอธิบาย ต้องแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงช่วงชั้นของข้อมูล โดยเชื่อมโยงคําอธิบายจากระดับ ที่สูงกว่าลงไปสู่ระดับที่ต่ํากว่า และระบุอย่างชัดเจนว่าคําอธิบายที่สร้างขึ้นนั้น อยู่ในระดับใดของช่วงชั้นข้อมูล 4. หลีกเลี่ยงการให้ข้ อมู ล ซ้ําในแต่ล ะช่ วงชั้น โดยในระดับช่วงชั้นใหญ่ สุด คือ collection ต้องมีข้อมูล ที่ ครอบคลุมเนื้อหาทั้งระดับ series และระดับ file โดยไม่ต้องอธิบายซ้ําอีกในระดับที่รองลงมาก แต่ให้ข้อมูลที่ ครอบคลุมเฉพาะขอบเขตของระดับนั้นๆ กฎและหลักการให้ข้อมูลจดหมายเหตุตามระบบ ISAD(G) คลังข้อมู ลจดหมายเหตุนักมานุ ษยวิ ทยา ได้ใช้องค์ประกอบการให้ข้อมูลจดหมายเหตุตามระบบ ISAD(G) 7 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ 1. Identity statement area - ข้อมูลสําคัญที่ระบุหน่วยข้อมูลจดหมายเหตุ 2. Context Area - เนื้อหาที่แสดงให้เห็นที่มาและบริบทของหน่วยข้อมูล 3. Content and structure area - เนื้อหาที่แสดงให้เห็นหัวเรื่องและการจัดเรียงเอกสาร 4. Conditions of access and use area - เงื่อนไขการเข้าถึงและใช้ 5. Allied materials area - ระบุว่าวัสดุจดหมายเหตุอยู่ที่ใดและมีจํานวนเท่าใด 6. Note area - ระบุข้อมูลที่ไม่สามารถบันทึกไว้ในองค์ประกอบอื่นๆ ได้
โครงการฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยาในประเทศไทย 58 การจัดเรียงและให้ข้อมูลจดหมายเหตุตามระบบ ISAD(G)
7. Description control area - ระบุการสร้างข้อมูลจดหมายเหตุ ดําเนินการอย่างไร และใคร เป็นผู้ดําเนินการ อย่างไรก็ตาม คลังข้อมูลจดหมายเหตุฯ ได้เพิ่มองค์ประกอบหลักที่ 8 เข้าไป คือ Access points เพื่อ เอื้ออํานวยต่อระบบการสืบค้นที่มีประสิทธิภาพ โดย Access points จะมีองค์ประกอบย่อย 3 องค์ประกอบ คือ Subject access points คือ การระบุหัวเรื่อง Specific access points คือ การระบุชื่อเฉพาะ Keywords คือ การระบุคําสําคัญ นอกจากนี้ องค์ประกอบหลักที่ว่าด้วยเรื่อง Context Area ได้เพิ่มองค์ประกอบย่อย 1 องค์ประกอบ คือ Repository คือ สถานที่ องค์กร หรือสถาบัน ที่ดูแลและจัดเก็บเอกสาร อีกทั้ง องค์ประกอบหลักที่ว่าด้วยเรื่อง Conditions of access and use area ได้เพิ่มองค์ประกอบ ย่อยเข้าไปอีก 3 องค์ประกอบคือ Creative Commons License (CC) คือ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ Cultural protocol คือ ระเบียบปฏิบัติทางวัฒนธรรม Traditional Knowledge License (TK) คื อ ข้ อ กํ า หนดการใช้ ข้ อ มู ล ที่ เ ป็ น ความรู้ ท าง วัฒนธรรม องค์ประกอบต่างๆ ของข้อมูลที่ปรากฏในข้อมูลจดหมายเหตุ 8 องค์ประกอบหลัก ดังที่กล่าวมา เป็น ฐานของการให้คําอธิบายชุดเอกสารจดหมายเหตุในระดับ collection (ชุดเอกสาร) เมื่อต้องการให้คําอธิบาย ช่วงชั้นอื่นๆ ที่รองลงมา ให้เลือกองค์ประกอบข้อมูลทั้ง 8 กลุ่ม ตามความเหมาะสม องค์ประกอบการให้ข้อมูลตามระบบ ISAD(G) คลังข้อมูลจดหมายเหตุนักมานุษยวิทยา ใช้องค์ประกอบหลัก 8 กลุ่ม และองค์ประกอบย่อย 33 องค์ประกอบ ในการอธิบายข้อมูลจดหมายเหตุ มีกฎและหลักการให้ข้อมูล ดังต่อไปนี้
โครงการฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยาในประเทศไทย 59 การจัดเรียงและให้ข้อมูลจดหมายเหตุตามระบบ ISAD(G)
1.
Identity statement area - ข้อมูลสําคัญที่ระบุหน่วยข้อมูลจดหมายเหตุ
องค์ประกอบหลักนี้มีความสําคัญที่สุดสําหรับการให้ข้อมูลจดหมายเหตุ จึงต้องให้ข้อมูลที่ละเอียดและ ชัดเจนว่า ใครหรือองค์กรใดเป็นผู้สร้าง สะสม หรือจัดเก็บชุดเอกสาร ชื่อชุดเอกสาร หัวเรื่องเอกสาร วันที่เกิด เอกสาร ปริมาณเชิงกายภาพ การมีคําอธิบายที่ชัดเจนจะช่วยให้การค้นหาง่ายยิ่งขึ้น 1.1
Reference codes (รหัสอ้างอิง) : ระบุหน่วยข้อมูลและแสดงความสัมพันธ์กับคําอธิบาย
ระดับ collection รหัสอ้างอิงชุดเอกสารระดับ collection ให้ใช้อักษรภาษาอังกฤษตัวแรกของชื่อและนามสกุลของ เจ้าของเอกสาร ตัวอย่าง MM หมายถึง ชุดเอกสารของ ไมเคิล มอร์แมน CK หมายถึง ชุดเอกสารของ ชาร์ล คายส์
ระดับ series รหัสอ้างอิงชุดเอกสารระดับ series ให้ใช้อักษรภาษาอังกฤษตัวแรกของชื่อและนามสกุลของเจ้าของ เอกสาร ตามด้วยอันเดอร์สกอร์ ( _) ตามด้วยหมายเลขสองหลักของซี่รี่ ตัวอย่าง MM_01 หมายถึง ชุดเอกสารของไมเคิล มอร์แมน ซีรี่ที่ 1 SP_03 หมายถึง ชุดเอกสารของ สุมิตร ปิติพัฒน์ ซีรี่ที่ 3
โครงการฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยาในประเทศไทย 60 การจัดเรียงและให้ข้อมูลจดหมายเหตุตามระบบ ISAD(G)
ระดับ sub-series รหัสอ้างอิงชุดเอกสารระดับ sub-series ให้ใช้อักษรภาษาอังกฤษตัวแรกของชื่อและนามสกุลของ เจ้าของเอกสาร ตามด้วยอันเดอร์สกอร์ ( _) ตามด้วยหมายเลขสองหลักของซี่รี่ ตามด้วยจุด (.) ตามด้วย หมายเลขหนึ่งหลักของซับซีรี่ ตัวอย่าง CP_01.1 หมายถึง ชุดเอกสารของ ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ ซีรี่ที่ 1 ซับซีรี่ที่ 1
ระดับ file รหัสอ้างอิงชุดเอกสารระดับ file ให้ใช้อักษรภาษาอังกฤษตัวแรกของชื่อและนามสกุลของเจ้าของ เอกสาร ตามด้วยอันเดอร์สกอร์ ( _) ตามด้วยหมายเลขสองหลักของซี่รี่ ตามด้วยอันเดอร์สกอร์ ( _) ตามด้วย หมายเลขสองหลักของไฟล์ ตัวอย่าง CY_03_02 หมายถึง ชุดเอกสารของ ชิน อยู่ดี ซีรี่ที่ 3 ไฟล์ที่ 2 CP_01.1_04 หมายถึง ชุดเอกสารของ ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ ซีรี่ที่ 1 ซับซีรี่ที่ 1 ไฟล์ที่ 4
ระดับ sub-file รหัสอ้างอิงชุดเอกสารระดับ sub-file ให้ใช้อักษรภาษาอังกฤษตัวแรกของชื่อและนามสกุลของเจ้าของ เอกสาร ตามด้วยอันเดอร์สกอร์ ( _) ตามด้วยหมายเลขสองหลักของซี่รี่ ตามด้วยอันเดอร์สกอร์ ( _) ตามด้วย หมายเลขสองหลักของไฟล์ ตามด้วยจุด (.) ตามด้วยหมายเลขหนึ่งหลักของซับไฟล์ ตัวอย่าง CP_01.1_03.3 หมายถึง ชุดเอกสารของ ฉวีวรรณ ประจวบเหมาะ ซีรี่ที่ 1 ซับซีรี่ที่ 1 ไฟล์ที่ 3 ซับ ไฟล์ที่ 3
โครงการฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยาในประเทศไทย 61 การจัดเรียงและให้ข้อมูลจดหมายเหตุตามระบบ ISAD(G)
ระดับ item รหัสอ้างอิงชุดเอกสารระดับ item ให้กําหนดรหัสเอกสารเพียงแค่ 4 หลัก ได้แก่ หลักที่ 1 หมายถึง ชื่อชุดเอกสาร หลักที่ 2 หมายถึง ตู้เก็บเอกสาร หลักที่ 3 หมายถึง ซีรี่ของเอกสาร หลักที่ 4 หมายถึง ลําดับชิ้นของเอกสาร (นับรวมกันทั้งซีรี่) ตัวอย่าง เอกสารชุด SP มีทั้งหมด 4 ซีรี่ ในซีรี่ที่ 2 (ประเทศจีน) มีทั้งหมด 770 ระเบียน แม้ซี่รี่นี้จะแบ่งเป็น 6 file อย่างไรก็ตาม การลงทะเบียนเอกสารรายชิ้น ให้เรียงลําดับตั้งแต่ชิ้นที่ 1 ถึง 770 คือ SP-1-2-1 ถึง SP-12-770
1.2
Identifier (รหัสเอกสาร) : ใช้กฎเกณฑ์เดียวกับการให้ Reference codes
1.3
Title (ชื่อเอกสาร) : ระบุชื่อหน่วยข้อมูล
ตัวอย่าง ไมเคิล มอร์แมน (collection) 2541 (series) ไทดํา (series) เอกสารส่วนตัว (series) ลาว (series) ภาพถ่าย (file) บัตรบันทึก (file)
โครงการฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยาในประเทศไทย 62 การจัดเรียงและให้ข้อมูลจดหมายเหตุตามระบบ ISAD(G)
บันทึกประจําวัน วันที่ 15-31 มีนาคม และ 1-12 เมษายน 2499 (item) Basic information of Nongprong community, Petchaburi province (item) พิธีเสนเฮือน (item)
1.4
Date(s) (วันที่) : ระบุและบันทึกวันที่ของหน่วยข้อมูล
ตัวอย่าง 2532-00-00 1997-00-00
1.5
Level of Description (ระดับของหน่วยข้อมูล) : ระบุช่วงชั้นของหน่วยข้อมูล
Collection หมายถึง ชุดเอกสาร Series หมายถึง กลุ่ม Sub-series หมายถึง กลุ่มย่อย File หมายถึง แฟ้ม Sub-file หมายถึง แฟ้มย่อย Item หมายถึง ชิ้นเอกสาร
1.6 Extent and medium of the unit of description (ขอบเขตและสื่อของหน่วยข้อมูล) : อธิบายลักษณะขอบเขตทางกายภาพและตัวสื่อของหน่วยข้อมูล ตัวอย่าง - ชุดเอกสารประกอบด้วย ภาพถ่าย 211 ระเบียน, แถบบันทึกภาพ 6 ระเบียน
โครงการฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยาในประเทศไทย 63 การจัดเรียงและให้ข้อมูลจดหมายเหตุตามระบบ ISAD(G)
- ชุดเอกสารประกอบด้วย สมุดบันทึกและกระดาษบันทึก ภาพถ่าย เอกสารรายงาน จดหมาย และ บัตรบันทึก จํานวน 403 ระเบียน - ชุดเอกสารจํานวน 5931 ระเบียน ประกอบไปด้วย สไลด์ ภาพถ่าย บัตรบันทึก จดหมาย สมุดบันทึก เอกสารพิมพ์ แผนที โปสการ์ด และแถบบันทึกภาพ
2.
Context Area - เนื้อหาที่แสดงให้เห็นที่มาและบริบทของหน่วยข้อมูล บริบทเป็นข้อมูลที่สําคัญที่แสดงให้เห็นความแตกต่างหรือเอกลักษณ์ของชุดเอกสาร ข้อมูลบริบทจะ
ช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจถึงที่มาของเอกสาร การเกิด การจัดเก็บ การส่งต่อเอกสารของเจ้าของเอกสาร เพราะเอกสาร คือผลงานของบุคคลหรือองค์กรที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมในชีวิตประจําวัน การศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรหรือ บุคคลก่อนการกําหนดการจัดเรียงเอกสารและสร้างคําอธิบายเอกสารจึงมีความสําคัญ 2.1
Name of creator (s) (เจ้าของเอกสาร) : ระบุชื่อเจ้าของเอกสาร
ตัวอย่าง ไมเคิล มอร์แมน ฉัตรทิพย์ นาถสุภา ฮันส์ มานดอร์ฟ 2.2
Repository (คลังเก็บเอกสาร) : ระบุสถานที่ องค์กร หรือสถาบัน ที่ดูแลและจัดเก็บเอกสาร
ต้นฉบับ และ/หรือ เอกสารดิจิทัล ตัวอย่าง ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ห้องสมุดมหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา
โครงการฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยาในประเทศไทย 64 การจัดเรียงและให้ข้อมูลจดหมายเหตุตามระบบ ISAD(G)
2.3
biographical history (ประวัติของเจ้าของเอกสาร) : ระบุข้อมูลเพื่อสะท้อนการทํางานของ
เจ้าของเอกสาร ผลงานที่สําคัญ รวมถึงการเกิดเอกสารจดหมายเหตุ ตัวอย่าง วิลเลียม เจ.คลอสเนอร์ เกิดที่นิวยอร์ก ปี พ.ศ.2472 จบการศึกษาที่มหาวิทยาลัยเยล และจบปริญญา โทการศึกษาภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และปรัชญาด้านกฎหมาย เขาใช้เวลามากกว่าครึ่งหนึ่งของชีวิต อาศัยอยู่ในเมืองไทยซึ่งเปรียบเหมือนบ้านหลังที่สองของเขา เขาเดินทางมาประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2498 และใช้เวลาหนึ่งปีเพื่อทํางานวิจัยภาคสนามอย่างเข้มข้น ที่หมู่บ้านในภาคอีสานของประเทศไทย คลอสเนอร์มีความสนใจในด้านกฎหมาย วัฒนธรรม และการศาสนา จึงเป็นรากฐานที่คลอสเนอร์นํามาวิเคราะห์และมองปัญหา "การเปลี่ยน แปลง" ในสังคมไทยด้วยสายตาของคน นอกที่เข้ามาอยู่เมืองไทยในฐานะคนใน ประสบการณ์จากการร่วมกลุ่มสมาคมต่างๆ ช่วยเสริมให้เขารับรู้ต่อการเปลี่ยนแปลงทางความคิด และวิสัยทัศน์ของคนในสังคมไทยอย่างหลากหลาย เขามีส่วนในมูลนิธิฟอร์ด, มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์, มูลนิธิ เอเชีย, มูลนิธิจิม ทอมป์สัน, สยามสมาคม และสมาคมนักเรียนเก่าอเมริกา ฯลฯ นอกจากนี้คลอสเนอร์ยังเป็น อาจารย์สอนกฎหมาย และ มานุษยวิทยา รวมทั้งสอนศาสนาที่มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยด้วย
2.4
Archival history (ประวัติเอกสารจดหมายเหตุ) : ระบุข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมาของ
ชุดเอกสาร เช่น แหล่งที่มา การถ่ายโอนการครอบครอง สิ่งที่เกิดขึ้นกับชุดเอกสาร ประวัติการจัดเรียง การ สร้างข้อมูลสําหรับอํานวยในการสืบค้น วันที่ที่ดําเนินการต่างๆ ต่อชุดเอกสาร ในกรณีที่ชุดเอกสารได้รับมาโดยตรงจากเจ้าของเอกสาร ให้บันทึกข้อมูลนี้ลงใน Immediate source of acquisition or transfer (แหล่งที่มาของเอกสารโดยทางตรง) ตัวอย่าง ชุดเอกสารจดหมายเหตุของ ศ.ชาร์ล เอฟ คายส์ ชุดนี้ ได้รับมาจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลภายใต้ โครงการ Digital Archive Research on Thailand ระหว่างศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) กับ
โครงการฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยาในประเทศไทย 65 การจัดเรียงและให้ข้อมูลจดหมายเหตุตามระบบ ISAD(G)
มหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา, ปี พ.ศ. 2553. เอกสารต้นฉบับได้รับการจัดเก็บอยู่ใน “ชุดเอกสาร พิเศษ” ห้องสมุดมหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา
2.5
Immediate source of acquisition or transfer (แหล่ ง ที่ ม าของเอกสารโดยทางตรง) :
ระบุแหล่งที่มาของเอกสาร และการรับมอบจากผู้บริจาคโดยตรง วันที่และกระบวนการในการจัดหาหรือรับ มอบ ตัวอย่าง เอกสารชุดนี้ได้รับการบริจาคโดย ศ.ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์, ปี พ.ศ. 2551 เอกสารชุดนี้ได้รับการบริจาคโดย บุตรของ ศ.ชิน อยู่ดี, ปี พ.ศ. 2552
3.
Content and structure area - การให้ข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อหาในหน่วยข้อมูลจดหมายเหตุ การให้ข้อมูลจดหมายเหตุ คือ การสร้างสาระสังเขปที่แสดงขอบเขตและข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
บุคคล หัวเรื่อง สถานที่ เหตุการณ์ และประเด็น โดยเป็นการให้สาระสังเขปที่สั้นและกระชับที่สุด จนผู้ใช้ สามารถตัดสินใจได้ว่า เอกสารจดหมายเหตุนั้นๆ ตรงต่อความต้องการของผู้ใช้หรือไม่ ประเภทของข้อมูลที่ควรได้รับการกล่าวถึงในสาระสังเขปของข้อมูลจดหมายเหตุ
ประเภทของวัสดุ/รูปแบบของเอกสารจดหมายเหตุ
ชื่อบุคคลและองค์กรที่ปรากฏอย่างเด่นชัดในเอกสารจดหมายเหตุ
ชื่อบุคคลที่สร้างข้อมูล หรือบุคคลที่ข้อมูลกล่าวถึง ในเอกสารจดหมายเหตุ
หัวเรื่อง ประเด็น และจุดเด่น ของเนื้อหาที่เอกสารจดหมายเหตุกล่าวถึง
เหตุการณ์ที่บันทึกไว้ หรือสัมพันธ์กับเนื้อหาในเอกสารจดหมายเหตุ
สถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ซึ่งมีความสําคัญอย่างมากในเอกสารจดหมายเหตุ
โครงการฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยาในประเทศไทย 66 การจัดเรียงและให้ข้อมูลจดหมายเหตุตามระบบ ISAD(G)
ช่วงเวลาที่เอกสารจดหมายเหตุเกี่ยวข้อง และมีนัยสําคัญมากเพียงพอที่จะทําให้ เข้าใจเอกสารจดหมายเหตุ
3.1
Scope and content (ขอบเขตและเนื้ อ หา) : เพื่ อ ให้ ผู้ ใ ช้ พิ จ ารณาว่ า หน่ ว ยข้ อ มู ล
เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ผู้ใช้ค้นหาหรือไม่ ตัวอย่าง เอกสารบันทึกภาคสนามของ ศ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา จํานวน 144 ระเบียน ( 114 ชั่วโมง 02 นาที) เป็น แถบบันทึกเสียงคําสัมภาษณ์ชาวบ้านในชนบทและในเมืองท้องถิ่น จาก 4 ภาคของประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522-2526 จําแนกเป็น ภาคกลาง 41 ระเบียน ภาคเหนือ 20 ระเบียน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 48 ระเบียน และภาคใต้ 35 ระเบียน การเก็บข้อมูลใช้วิธีการที่เรียกว่า “ประวัติศาสตร์บอกเล่า” โดยให้ผู้ถูกสัมภาษณ์บอก เล่าเรื่องราวในสมัยยังหนุ่มสาว หรือจดจําคําบอกเล่ามาจากบรรพบุรุษ ในเรื่องเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐาน ความ เป็นอยู่ อาชีพ ความเชื่อ เป็นต้น แถบบันทึกเสียงชุดนี้ ศ.ฉัตรทิพย์ ได้นํามาประกอบการเขียนหนังสือเรื่อง “เศรษฐกิจหมู่บ้านไทยในอดีต” ชุดเอกสารประกอบด้วยภาพถ่าย 857 ระเบียน จากการทํางานภาคสนามทางมานุษยวิทยาของ ศ. ฮันส์ มานดอร์ฟ ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และตาก ช่วงปี พ.ศ. 2504-2505 และ พ.ศ.2506-2508 ภาพถ่ายเหล่านี้สะท้อนให้เห็นสภาพสังคม เศรษฐกิจ ความเชื่อ ของกลุ่มชนบนพื้นที่สูง 6 กลุ่ม ได้แก่ ลีซู ละหู่ อาข่า ม้ง กะเหรี่ยง และเย้า
การได้ม าซึ่ ง คํา อธิ บ ายขอบเขตและเนื้ อ หาของเอกสารจดหมายเหตุ สามารถได้ ม าจากวิ ธีก ารที่ หลากหลาย อาทิ การสังเคราะห์ของนักจดหมายเหตุ การให้รายละเอียดเอกสารโดยเจ้าของเอกสาร ก่อนส่งมอบให้คลังเอกสารจดหมายเหตุ การจัดประชุมหรือบรรยายโดยเจ้าของเอกสาร ในประเด็นเกี่ยวกับเอกสารจดหมายเหตุชุด นั้น เพื่อให้นักจดหมายเหตุบันทึกข้อมูลจากการบรรยาย
โครงการฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยาในประเทศไทย 67 การจัดเรียงและให้ข้อมูลจดหมายเหตุตามระบบ ISAD(G)
การสัมภาษณ์เจ้าของเอกสารเกี่ยวกับกระบวนการทํางานและการบันทึกข้ อมูล จากนั้น สังเคราะห์ข้อมูลจากบทสัมภาษณ์ การทํางานร่วมกับเจ้าของเอกสาร โดยนักจดหมายเหตุหรือผู้ช่วยวิจัย 3.2
Appraisal, destruction, and scheduling information (การประเมินคุณค่า การทําลาย
และระยะเวลาในการจัดเก็บ) : ระบุข้อมูลเกี่ยวกับการประเมินคุณค่าเอกสาร การทําลาย และช่วงเวลาในการ เก็บรักษา ที่ได้ดําเนินการไปแล้ว หรือควรจะทําในอนาคต ตัวอย่าง All the Mabo Papers that were transferred to the National Library have been preserved. (Fonds)
3.3
Accruals (เอกสารคงค้าง) : ระบุข้อมูลให้ผู้ใช้ทราบว่า อาจมีข้อมูลเพิ่มเติมสําหรับหน่วย
ข้อมูลอีกในอนาคต
ตัวอย่าง Further accruals are expected (Fonds)
3.4
System of arrangement (ระบบที่ใช้ในการจัดเรียงเอกสาร) : ระบุข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้าง
ลําดับ และ/หรือ ระบบการจัดแบ่งหน่วยข้อมูล
ตัวอย่าง ชุดเอกสารจําแนกออกเป็น 2 กลุ่ม ตามกลุ่มชาติพันธุ์ที่ศึกษา ระดับกลุ่มย่อยจําแนกตามประเภท เอกสาร ระดับแฟ้มจําแนกตามประเด็นที่ศึกษา และระดับแฟ้มย่อยจําแนกตามหัวข้อที่ศึกษา
โครงการฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยาในประเทศไทย 68 การจัดเรียงและให้ข้อมูลจดหมายเหตุตามระบบ ISAD(G)
The collection is divided into five series, which are based on the periods of field work in Thailand. Regarding file level, it is classified by material-bases types.
4.
Conditions of access and use area - เงื่อนไขการเข้าถึงและใช้ องค์ประกอบหลักนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่าเอกสารมีสถานภาพหรือควรได้รับการจัดการอย่างไร มี
ข้อกําหนดในการเข้าถึงและใช้อย่างไร ซึ่งข้อกําหนดอาจเป็นข้อกําหนดตามกฎหมาย หรือตามเงื่อนไขที่ผู้ บริจาคได้กําหนดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร หากไม่มีข้อตกลงร่วมกับเจ้าของเอกสารอย่างเป็นลายลักษณ์ คลัง เอกสารจดหมายเหตุ จะใช้กรรมสิทธิ์ในฐานะผู้ดูแลเอกสาร จัดการและเผยแพร่ โดยพิจารณาบนเงื่อนไขอื่นๆ ทั้งด้านกฎหมายและจริยธรรม ข้อกําหนดในการเข้าถึงและใช้เอกสารแต่ละชุด และ/หรือ ชิ้นเอกสาร สามารถพิจารณาข้อกําหนดได้ จาก กฎหมายลิขสิทธิ์หรือกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา หนังสือขออนุญาตใช้สิทธิ์ (deed of gift) ที่คลังเอกสารจดหมายเหตุทําข้อตกลงร่วมกับ เจ้าของเอกสาร ทายาทของเจ้าของเอกสาร หรือผู้บริจาค สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons License - CC) ระเบียบปฏิบัติทางวัฒนธรรม (Cultural Protocols) ข้อกําหนดการใช้ข้อมูลที่เป็นความรู้ทางวัฒนธรรม (Traditional Knowledge License TK) 4.1
Condition governing accessible and reproduction (เงื่ อ นไขกํ า กั บ การเข้ า ถึ ง ทํ า ซ้ํ า
และดัดแปลงข้อมูล) : เป็นการให้ข้อมูลทั้งเชิงกฎหมายและข้อกําหนดอื่นๆ ที่กํากับการใช้ข้อมูล ซึ่งเป็นผลมา จากตัวบทกฎหมาย สัญญา ข้อตกลง หรือนโยบาย ที่กํากับการเข้าถึง ใช้ข้อมูล รวมไปถึงการผลิตซ้ําข้อมูล ตัวอย่าง ก) เอกสารชุดนี้ไม่มีข้อจํากัดในการใช้
โครงการฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยาในประเทศไทย 69 การจัดเรียงและให้ข้อมูลจดหมายเหตุตามระบบ ISAD(G)
ข) เอกสารชุดนี้มีข้อจํากัดในการใช้ เนื่องจากเอกสารบางชิ้นได้รับการตีพิมพ์แล้ว ดังนั้นเพื่อความ เคารพในทรัพย์สินทางปัญญา จึงไม่เผยแพร่เอกสารดิจิทัลบนหน้าฐานข้อมูลจดหมายเหตุฯ หากท่านใดสนใจดู เอกสารต้นฉบับ กรุณาติดต่อที่โครงการจดหมายเหตุมานุษยวิทยา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ค) เอกสารชุดนี้มีข้อจํากัดในการใช้ เอกสารบางชิ้นไม่อนุญาตให้สืบค้นเอกสารดิจิทัล เนื่องด้วยเป็น เอกสารส่วนบุคคล และเป็นเอกสารที่เป็นความลับ
4.2 Creative Commons License
(สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์): เป็นสัญญาอนุญาต
ทางลิขสิทธิ์ มีจุดประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาลิขสิทธิ์ต่อการแบ่งปันสารสนเทศ โดยหากจะมีการนํา ข้อมูลที่อยู่ในคลังเอกสารจดหมายเหตุฯ ไปใช้ อาจอยู่ภายใต้ข้อกําหนดสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ 6 ชนิด ดังนี้
Attribution (CC-BY) หมายถึง อ้างอิงแหล่งที่มา
Attribution-Share Alike (CC-BY-SA) หมายถึง อ้างอิงแหล่งที่มา ให้อนุญาตต่อไปแบบเดียวกัน
Attribution-No Derivative Works (CC-BY-ND) หมายถึง อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามดัดแปลง
Attribution-Noncommercial (CC-BY-NC) หมายถึง อ้างอิงแหล่งที่มา ห้ามนําไปใช้เพื่อการค้า
Attribution-Noncommercial-Share Alike (CC-BY-NC-SA) หมายถึ ง อ้ า งอิ ง แหล่ ง ที่ ม า ห้ า ม นําไปใช้เพื่อการค้า และให้อนุญาตต่อไปแบบเดียวกัน
Attribution-Noncommercial-No Derivatives (CC-BY-NC-ND) หมายถึง อ้างอิงแหล่งที่มา ห้าม นําไปใช้เพื่อการค้า และห้ามดัดแปลง
โครงการฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยาในประเทศไทย 70 การจัดเรียงและให้ข้อมูลจดหมายเหตุตามระบบ ISAD(G)
ตัวอย่าง
หมายเหตุ – ดูรายละเอียด สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอน
ข้ อ กํา หนดในการใช้ ข้ อ มู ล ทางวั ฒ นธรรม ด้วยตระหนักว่าชุมชนเจ้าของวัฒนธรรมมีระเบียบปฏิบัติในการเข้าถึงและ ใช้ข้อมูลที่เป็นความรู้และ การแสดงออกทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน จึงต้องมีข้อกําหนดเพื่อแสดงให้ผู้ใช้ทราบว่าชุดเอกสารและข้อมูล แต่ละชิ้นมีการใช้ภายใต้ข้อกําหนดใดบ้างของเจ้าของวัฒนธรรม ข้อกําหนดนี้อาจได้มาจากระเบียบปฏิบัติที่มี อยู่ แ ล้ วของแต่ล ะวั ฒ นธรรม หรื อ เกิ ด จากการหารื อ และสอบถามความคิด เห็ น เจ้ าของวัฒ นธรรมที่เ ป็ น แหล่งที่มาของข้อมูล จากนั้นสร้างข้อตกลงในการใช้ข้อมูลร่วมกันระหว่างคลังเอกสารจดหมายเหตุกับเจ้าของ วัฒนธรรม ข้อกํ าหนดในการใช้ข้อมูลวั ฒนธรรม เป็นข้อกําหนดที่ถูกนํามาใช้ใ นกรณีที่กฎหมายลิ ขสิทธิ์ และ ทรัพย์สินทางปัญญาไม่อาจคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมได้อย่างครอบคลุม สําหรับคลังจดหมายเหตุนักมานุษยวิทยาจะใช้ข้อกําหนด 2 แบบในการกําหนดการเข้าถึงและใช้ ข้อมูลวัฒนธรรม คือ Cultural Protocols (ระเบียบปฏิบัติทางวัฒนธรรม) และ Traditional Knowledge Licenses and Fair-Used Label (ข้อกําหนดการใช้ข้อมูลที่เป็นความรู้ทางวัฒนธรรม) มีเกณฑ์ในการใช้ ดังต่อไปนี้
โครงการฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยาในประเทศไทย 71 การจัดเรียงและให้ข้อมูลจดหมายเหตุตามระบบ ISAD(G)
4.3
Cultural Protocols (ระเบียบปฏิบัติทางวัฒนธรรม): ในกรณีที่บางชุมชนหรือบางวัฒนธรรม
มีระเบียบปฏิบัติและเงื่อนไขในการเข้าถึงและใช้ข้อมูลทางวัฒนธรรม เช่น เงื่อนไขเรื่อง เพศ อายุ สถานภาพใน ชุมชน หรือการเป็นสมาชิกที่แท้จริงของชุมชน ให้คลังข้อมูลจดหมายเหตุนักมานุษยวิทยายึดถือระเบียบปฏิบัติ นั้นๆ ในการเผยแพร่ข้อมูล
ตัวอย่าง
หมายเหตุ – ดูรายละเอียด ระเบียบปฏิบัติทางวัฒนธรรม
ในกรณีที่ชุดเอกสารหรือข้อมูลทางวัฒนธรรมใดๆ ที่อยู่ในเอกสารจดหมายเหตุ ไม่ได้มีระเบียบปฏิบัติ ทางวัฒนธรรมของเจ้าของวัฒนธรรมควบคุมการเข้าถึงและใช้มรดกทางวัฒนธรรมของชุมชน (ทั้งจับต้องได้ และจับต้องไม่ได้) ให้นักจดหมายเหตุพิจารณาใช้ Traditional Knowledge Licenses 4 . 4 Traditional Knowledge Licenses and Fair-Used Label
คื อ ข้ อ
กําหนดการใช้ข้อมูลที่เป็นความรู้ทางวัฒนธรรม/ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้อกําหนดนี้เป็นข้อกําหนดที่คลังจดหมาย เหตุฯ เรียนรู้มาจาก Mukurtu Archives3 โดยพิจารณาแล้วเห็นว่าสามารถใช้เป็นข้อกําหนดการใช้ข้อมูลทาง
3 http://www.mukurtu.org/
โครงการฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยาในประเทศไทย 72 การจัดเรียงและให้ข้อมูลจดหมายเหตุตามระบบ ISAD(G)
วัฒนธรรมที่อยู่ในคลังจดหมายเหตุฯ ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ข้อกําหนดนี้อาจมีการปรับปรุงหรือพัฒนาไปใช้ ข้อกําหนดอื่นๆ ที่อาจเหมาะสมกว่าในอนาคต ข้อกําหนดการใช้ข้อมูลที่เป็นความรู้ทางวัฒนธรรมประกอบไปด้วยสัญลักษณ์ 12 รูปแบบ เพื่อระบุ การใช้ข้อมูล ดังต่อไปนี้
Traditional Knowledge Attribution หมายถึง ผู้ใช้สามารถนําข้อมูลไปใช้ได้ตาม ความประสงค์ ไม่ว่าเพื่องานศึกษาวิจัยหรือเผยแพร่ต่อสาธารณะ และควรอ้างถึงที่มาของข้อมูลนี้ให้ ชั ด เจนในรู ป แบบลายลั ก ษณ์ อั ก ษร ว่ า ข้ อ มู ล ดั ง กล่ า วเป็ น ภู มิ ปั ญ ญาท้ อ งถิ่ น ของชุ ม ชนใด
Traditional Knowledge Attribution Non-Commercial หมายถึง ผู้ใช้ สามารถนําข้อมูลไปใช้เพื่องานศึกษาวิจัยหรือเผยแพร่ต่อสาธารณะเท่านั้น ไม่ได้รับอนุญาตให้นํา ข้อมูลไปใช้ในเชิงพาณิชย์ และควรอ้างถึงที่มาของข้อมูลนี้ให้ชัดเจนในรูปแบบลายลักษณ์อักษรว่าเป็น ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนใด
Traditional Knowledge Community Owned Education หมายถึง ผู้ใช้ สามารถนําข้อมูลไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการศึกษาเท่านั้น และควรอ้างที่มาของข้อมูลนี้ให้ชัดเจน ในรูปแบบลายลักษณ์อักษรว่าเป็น ภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนใด และหากผู้ใช้ต้องการเผยแพร่ข้อมูล ชุดนั้นต่อไปอีกทอดเพื่อวัตถุประสงค์ด้าน การศึกษา ผู้ใช้จะต้องพูดคุยกับชุมชนเจ้าของวัฒนธรรมเพื่อ การแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่าง เป็นธรรม รวมถึงเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้าถึงผลงานทางการศึกษาที่นํา ข้อมูลจากชุมชนไปใช้
Traditional Knowledge Community Owned Commercial หมายถึง ข้อมูลนี้ได้รับการกําหนดจากชุมชนเจ้าของข้อมูลให้ใช้ในเชิงพานิชย์ได้ โดยผู้ใช้ต้องติดต่อโดยตรงกับ ชุมชน เพื่อยืนยันว่าการนําไปใช้เพื่อการค้านั้นจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือ เป็นการดูหมิ่นชุมชน เจ้าของข้อมูล ผู้นําข้อมูลไปใช้ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการขออนุญาตใช้ข้อมูลแบบครั้งเดียว นอกจากนี้ ผู้ใช้ต้องอ้างแหล่งที่มาของข้อมูลให้ชัดเจน
Traditional Knowledge Public Domain Commercial หมายถึง ผู้ใช้ สามารถนําข้อมูลไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ เนื่องจากเป็นสาธารณสมบัติ แม้ชุมชนเจ้าของข้อมูลจะไม่มี
โครงการฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยาในประเทศไทย 73 การจัดเรียงและให้ข้อมูลจดหมายเหตุตามระบบ ISAD(G)
กรรมสิทธิ์ถือครองตามกฎหมาย แต่ผู้ใช้ควรเคารพระเบียบปฏิบัติทางวัฒนธรรมของชุมชน ไม่ควร นําไปใช้ในรูปแบบที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจเป็นภัยคุกคาม หรือนําความเสื่อมเสียสู่ชุมชนได้ นอกจากนี้ ต้องอ้างที่มาของข้อมูลให้ชัดเจนว่าชุมชนใดเป็นเจ้าของข้อมูลทาง วัฒนธรรม
Traditional Knowledge Externally Owned Commercial ห ม า ย ถึ ง ผู้ ใ ช้ สามารถนําข้อมูลไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ แม้ชุมชนเจ้าของข้อมูลจะไม่มีกรรมสิทธิ์ถือครองตามกฎหมาย แต่ ข้ อ มู ล เหล่ า นี้ ไ ด้ รั บ การคุ้ ม ครองจากเจ้ า ของลิ ข สิ ท ธิ์ ผู้ เ ก็ บ รั ก ษาข้ อ มู ล อั น ได้ แ ก่ นั ก วิ จั ย หรื อ สถาบัน ผู้ใช้ต้องติดต่อกับนักวิจัยหรือสถาบันที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยตรงเพื่อ ขอใช้ข้อมูล อย่างไรก็ ตามผู้ใช้งานควรใช้ด้วยความเคารพในระเบียบปฏิบัติทางวัฒนธรรมของ ชุมชนด้วย และควรแจ้งให้ สาธารณชนทั่วไปทราบว่าชุมชนใดเป็นแหล่งข้อมูลนี้ เพื่อป้องกันมิให้มีการนําวัตถุไปใช้ในรูปแบบที่ไม่ เ ห ม า ะ ส ม ซึ่ ง อ า จ เ ป็ น ภั ย คุ ก ค า ม ห รื อ นํ า ค ว า ม เ สื่ อ ม เ สี ย ม า สู่ ชุ ม ช น ไ ด้
Traditional Knowledge Community Use Only หมายถึง ข้อมูลนี้สงวนให้ เฉพาะสมาชิกชุมชนเจ้าของวัฒนธรรมใช้เท่านั้น และต้องใช้ภายใต้ระเบียบปฏิบัติทางวัฒนธรรมของ ชุมชน หากผู้ใช้ไม่ได้เป็นสมาชิกของชุมชน แต่สามารถเข้าถึงข้อมูลนี้ด้วยความบังเอิญ ชุมชนร้องขอมิ ให้ทําการดาวน์โหลด คัดลอก แก้ไข หรือเผยแพร่ข้อมูลนี้ หากไม่ได้รับการยินยอมเป็นลายลักษณ์ อักษรหรือวาจาจากชุมชน
Traditional Knowledge External Use Only-Women General ห ม า ย ถึ ง ข้อมูลนี้อนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะผู้หญิงภายในชุมชนเท่านั้น หากผู้ใช้เป็นสมาชิกของชุมชน จะสามารถ เข้าถึงและแบ่งปันข้อมูลนี้กับผู้หญิงในชุมชนได้อย่างอิสระ ในขอบเขตบริบทของชุมชน หากผู้ใช้ไม่ได้ เป็นสมาชิกของชุมชน แต่สามารถเข้าถึงข้อมูลนี้ด้วยความบังเอิญ ชุมชนร้องขอมิให้ทําการดาวน์โหลด คัดลอก แก้ไข หรือเผยแพร่ข้อมูลนี้ หากไม่ได้รับการยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรหรือวาจาจากชุมชน
Traditional Knowledge External Use Only-Women Restricted ห ม า ย ถึ ง ข้อมูลนี้มีความศักดิ์สิทธิ์และเป็นสิ่งที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม โดยมีเพียงสมาชิกเพศหญิงของชุมชน ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่สามารถใช้ข้อมูล หรือวัตถุชิ้นนี้ได้ หากผู้ใช้ไม่ได้เป็นสมาชิกของชุมชน แต่ สามารถเข้าถึงข้อมูลนี้ด้วยความบังเอิญ ชุมชนร้องขอมิให้ทําการดาวน์โหลด คัดลอก แก้ไข หรือ เ ผ ย แ พ ร่ ข้ อ มู ล นี้ ข้ อ มู ล นี้ ไ ม่ อ นุ ญ า ต ใ ห้ ใ ช้ อ ย่ า ง เ ส รี ทั้ ง ภ า ย ใ น แ ล ะ ภ า ย น อ ก ชุ ม ช น
โครงการฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยาในประเทศไทย 74 การจัดเรียงและให้ข้อมูลจดหมายเหตุตามระบบ ISAD(G)
Traditional Knowledge External Use Only-Men General หมายถึง ข้อมูล นี้อนุญาตให้ใช้ได้เฉพาะผู้ชายภายในชุมชนเท่านั้น หากผู้ใช้เป็นสมาชิกของชุมชน จะสามารถเข้าถึง และแบ่งปันข้อมูลนี้กับผู้ชายในชุมชนได้อย่างอิสระ ในขอบเขตบริบทของชุมชน หากผู้ใช้ไม่ได้เป็น สมาชิกของชุมชน แต่สามารถเข้าถึงข้อมูลนี้ด้วยความบังเอิญ ชุมชนร้องขอมิให้ทําการดาวน์โหลด คัดลอก แก้ไข หรือเผยแพร่ข้อมูลนี้ หากไม่ได้รับการยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรหรือวาจาจากชุมชน
Traditional Knowledge External Use Only-Men Restricted ห ม า ย ถึ ง ข้อมูลนี้มีความศักดิ์สิทธิ์และเป็นสิ่งที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรม โดยมีเพียงสมาชิกเพศชายของชุมชน ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่สามารถใช้ข้อมูล หรือวัตถุชิ้นนี้ได้ หากผู้ใช้ไม่ได้เป็นสมาชิกของชุมชน แต่ สามารถเข้าถึงข้อมูลนี้ด้วยความบังเอิญ ชุมชนร้องขอมิให้ทําการดาวน์โหลด คัดลอก แก้ไข หรือ เ ผ ย แ พ ร่ ข้ อ มู ล นี้ ข้ อ มู ล นี้ ไ ม่ อ นุ ญ า ต ใ ห้ ใ ช้ อ ย่ า ง เ ส รี ทั้ ง ภ า ย ใ น แ ล ะ ภ า ย น อ ก ชุ ม ช น
Traditional Knowledge Multiple Community Owned หมายถึง ข้อมูลนี้มีผู้ ถือกรรมสิทธิ์หลายชุมชน หากจะนําข้อมูลไปใช้ จําเป็นต้องพูดคุยและเจรจากับชุมชนที่มีรายชื่อเป็น เจ้าของ เพื่อขออนุญาต ผู้ใช้ควรตกลงกับชุมชนต่างๆ ที่เป็นเจ้าของ เกี่ยวกับแนวทางการใช้งาน และ ควรเคารพในระเบียบปฏิบัติทางวัฒนธรรมในการใช้ข้อมูล (รวมถึงสิทธิภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วย)
หมายเหตุ – ดูรายละเอียด ข้อกําหนดการใช้ข้อมูลที่เป็นความรู้ทางวัฒนธรรม 4.5
Physical characteristics and technical requirements (ลั ก ษณะทางกายภาพของ
เอกสาร และข้อกําหนดในการเข้าถึงเอกสารทางเทคนิค): ระบุข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะสําคัญทางกายภาพหรือ เทคนิคที่สัมพันธ์กับการใช้เอกสาร เช่น ความจําเป็นในการอนุรักษ์ที่ส่งผลต่อการใช้งานเอกสาร โปรแกรมหรือ ครุภัณฑ์ที่จําเป็นสําหรับการเข้าถึงข้อมูล ตัวอย่าง Many of the prints some fading and silvering. At least six prints have their images obscured due to time and the unstable chemical conditions within the print paper.
โครงการฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยาในประเทศไทย 75 การจัดเรียงและให้ข้อมูลจดหมายเหตุตามระบบ ISAD(G)
4.6
Finding aids (เครื่องมือช่วยในการค้นคืน) : ระบุข้อมูลที่แสดงเครื่องมือสําหรับการค้นคืน
ซึ่งนักจดหมายเหตุหรือเจ้าของเอกสารอาจทําไว้
ตัวอย่าง An inventory that provides additional information about this collection is avilable in elctronic form at http://www.mnhs.org/library/findaids/00020.xml. (Fonds) A 31 page published finding aid is available. This finding aid is also available on the Web at http://www.nla.gov.au/ms/findaids/8822.html (Fonds)
5.
Allied materials area - ระบุว่าวัสดุจดหมายเหตุอยู่ที่ใด และมีจํานวนเท่าใด 5.1
Existence and location of originals (เอกสารต้นฉบั บและสถานที่จัดเก็บ) : ระบุ ความ
พร้อมในการให้บริการ และ/หรือ การทําลายต้นฉบับ หากเอกสารต้นฉบับของหน่วยข้อมูลสามารถให้บริการ ได้ ไม่ว่าจะอยู่ในองค์กรหรือในสถานที่อื่น ให้ระบุสถานที่จัดเก็บเอาไว้ รวมทั้งแสดงให้เห็นเลขเรียก แต่หาก ต้นฉบับไม่สามารถให้บริการได้อีกต่อไป หรือไม่สามารถระบุสถานที่จัดเก็บได้อีกแล้ว ก็ให้ระบุข้อมูลเอาไว้ตาม จริง ตัวอย่าง Following sampling in 1985, the remaining case files were destroyed. (Series) The originals are located in the Western Historical Manuscript Collection, University of Missouri, Columbia, Missouri. (Series) Originals of these documents are presidential records in the custody of the National Security Council. (Series)
โครงการฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยาในประเทศไทย 76 การจัดเรียงและให้ข้อมูลจดหมายเหตุตามระบบ ISAD(G)
5.2
Existence and location of copies (เอกสารสําเนาและสถานที่จัดเก็บ) : ระบุตัวเอกสาร
สําเนา สถานที่ และความพร้อมในการให้บริการ หากมีสําเนาเอกสารของหน่วยข้อมูล พร้อมให้บริการ (ไม่ว่า จะในองค์กรหรือที่อื่นๆ) ให้บันทึกสถานที่เหล่านั้น พร้อมทั้งแสดงเลขเรียก
ตัวอย่าง Digital reproductions of the Christie family Civil War correspondence are available electronically at http://www.mnhs.org/collections/christie.html. (Fonds) In August 1 9 8 8 a photocopy of item 8 1 6 4 5 ( from the Japanese War Crimes Trials section of the series) was transferred to the Australian Archives from the Australian War Memorial under the number 1010/6/134 and accessioned into series A2663. (Series) The Mabo papers have been microfilmed onto 1 1 reels of 3 5 mm film held at NLA Mfm G 27,539-27,549. Full set of the microfilm are held by the Townville and Cairns campus libraries of the James Cook University of North Queensland. (Fonds)
5.3
Related units of description (หน่วยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง) : ระบุข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหน่วย
ข้อมูลในชุดเอกสารเดียวกัน หรือในสถานที่อื่นๆ แต่มีความสัมพันธ์ในเชิงที่มาหรือมีความสัมพันธ์กันในฐานะ อื่น ตัวอย่าง A quantity of records in this series, within the file number range 80776 to 81663, deals with Japanese war crimes trials. The index cards for these files are available as CRS A3193/XM1 and A3194/XM1. (Series) Sound recordings from the Mabo Papers are held in the National Library's Oral History collection at TRC 3504. (Fonds)
โครงการฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยาในประเทศไทย 77 การจัดเรียงและให้ข้อมูลจดหมายเหตุตามระบบ ISAD(G)
5.4
Publication area (สิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้อง) : ระบุสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ การศึกษา หรือ
การวิเคราะห์หน่วยข้อมูล รวมไปถึงข้อมูลเกี่ยวกับสําเนาหรือบทถอดเสียงที่มีการตีพิมพ์
ตัวอย่าง The entire calendar has been published in 12 volumes from the set of cards held by the University of Illinois. The Mereness Calendar: Federal Documents of the Upper Mississippi Valley 1780-1890 (Boston: G. K. Hall and Co., 1971). (Fonds) Noel Loos' biography of Mabo. Edward Koiki Mabo: his life and stuggle for land rights, St Lucia, UQP, 1996, makes numerous references to the Mabo Papers. (Fonds)
6.
Note area - ระบุข้อมูลที่ไม่สามารถบันทึกไว้ในองค์ประกอบอื่นๆ ได้ ตัวอย่าง Previously known as: Battle of Kennesaw Mountain collection. (Fonds) Please note that only a portion of this item has been digitized and made available
online. (Item)
7.
Description control area - ระบุก ารสร้า งข้ อมู ล จดหมายเหตุ ดํ า เนิ น การอย่ า งไร และใครเป็ น
ผู้ดําเนินการ 7.1
Rule or convention (กฎหรือระบบ) : ระบุระบบที่นํามาใช้ในการจัดเรียงเอกสาร
ตัวอย่าง อ้างอิงระบบ ISAD(G) ในการอธิบายชุดเอกสาร
โครงการฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยาในประเทศไทย 78 การจัดเรียงและให้ข้อมูลจดหมายเหตุตามระบบ ISAD(G)
Collection, series and file level description based on ISAD(G) Series controlled and described under the rules of the National Archives of Australia's Commonwealth Records Series (CRS) System.
7.2
Language/scripts of material (ภาษาและอักษร): ระบุภาษา อักษร หรือระบบสัญลักษณ์
ที่ปรากฏในเอกสาร ตัวอย่าง อังกฤษ/ไทย อังกฤษ/ไทย/ลื้อ
7.3
Date (s) of description (วันที่ของหน่วยข้อมูล) : ระบุว่าหน่วยข้อมูลสร้างขึ้น บันทึกลงใน
ทะเบียนข้อมูล หรือมีการแก้ไขปรับปรุงเมื่อใด ตัวอย่าง Finding aid prepared April 1972. (fonds) Series registered, 24 September 1987. Description updated, 10 November 1999. (Series)
7.4
Archivist's note (บันทึกของนักจดหมายเหตุ) : ระบุนามของผู้จัดเรียง สร้างคําอธิบาย หรือ
แก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลในหน่วยข้อมูล
โครงการฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยาในประเทศไทย 79 การจัดเรียงและให้ข้อมูลจดหมายเหตุตามระบบ ISAD(G)
ตัวอย่าง เอกสารชุดนี้ให้คําอธิบายในระดับ collection, series, และ file โดยธันวดี สุขประเสริฐ, ปี พ.ศ. 2555 เอกสารชุดนี้จัดระบบโดย สิทธิศักดิ์ รุ่งเจริญสุขศรี, ปี พ.ศ.2552 เอกสารชุดนี้จัดระบบและให้คําอธิบายโดย ศ.ไมเคิล มอร์แมน, ปี พ.ศ. 2548
8.
Access points - ระบุคําสืบค้น 8.1
subject access points (หัวเรื่อง) : ระบุหัวเรื่องสําหรับการสืบค้น โดยหัวเรื่องนี้มาจากชุด
ศัพท์ในอรรถาภิธานศัพท์วัฒนธรรม ตัวอย่าง CULTURAL REVITALIZATION AND ETHNOGENESIS CULTURAL PARTICIPATION BUILDING AND CONSTRUCTION TOOLS AND APPLIANCES
8.2
specific access points (ชื่อเฉพาะ) : ระบุคําสืบค้นที่เป็นชื่อเฉพาะ เช่น ชื่อคน ชื่อสถานที่
ชื่อหน่วยงาน ฯลฯ ตัวอย่าง ไมเคิล มอร์แมน เชียงคํา
โครงการฐานข้อมูลจดหมายเหตุมานุษยวิทยาในประเทศไทย 80 การจัดเรียงและให้ข้อมูลจดหมายเหตุตามระบบ ISAD(G)
สถานีตํารวจภูธรภาค 5
8.3
keywords (คําสําคัญ) : ระบุคําสําคัญอื่นๆ
ตัวอย่าง
สักสุ่ม
บันทึกส่วนตัว
ใจบ้าน
ผ้าทอไทลื้อ
ร่างที่ 1 ประกาศใช้เมื่อวันที่
View more...
Comments